Welcome to thatponglawyer   Click to listen highlighted text! Welcome to thatponglawyer

ไล่ออกเพราะไม่ฉีดวัคซีนได้มั้ย?

คำตอบเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่น่าสนใจสำหรับ HROD & ER
เรื่อง:-ไม่ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 นายจ้างไล่ออกได้หรือไม่

โดยทัศน์พงษ์ สกุลคู

มีเพื่อนทาง FB สอบถามปัญหากินใจมาว่า ช่วงนี้ บริษัททุกบริษัทฯ กำหนดนโยบายว่าพนักงานจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัวโควิด-19 ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นกรณีพนักงานไปฉีดด้วยตนเองแล้วนำใบรับรองแพทย์มาแสดง หรือบริษัทฯจัดให้โรงพยาบาลมาบริการฉีดวัคซีนให้ถึงโรงงาน ปัญหามีว่ามีพนักงานบางกลุ่มบางคน ไม่ประสงค์จะฉีดวัคซีนดังกล่าว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม กรณีเช่นนี้บริษัทฯจะทำการเลิกจ้างพนักงานกลุ่มดังกล่าวได้หรือไม่อย่างไร
คำตอบ กรณีตามคำถาม บริษัทฯ เป็นสถานประกอบกิจการที่มีความจำเป็นต้องทำการผลิตจำหน่าย บริการ เพื่อให้เกิดผลกำไรทางธุรกิจตามที่บริษัทฯ ได้ลงทุนประกอบกิจการไว้ ดังนั้น บริษัทจึงต้องดำเนินการทุกวิถีทางที่ถูกต้องและเป็นธรรมตามกฎหมายจัดการเพื่อให้ตนเองดำเนินธุรกิจต่อไปให้ได้ อีกทั้ง ยังต้องแบกรับภาระช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวพนักงานให้สามารถทำงานและมีรายได้ต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อมีโรคระบาดไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้น และมีประชาชนติดเชื้อเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มจะขยายจำนวนประชาชนติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากพนักงานของบริษัทติดเชื้อก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต การเจ็บป่วยและเป็นผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายของพนักงานและครอบครัว ตลอดจนถึงผู้บริหารและลูกค้าของบริษัทฯ ต่อไป จากผลกระทบดังกล่าวย่อมต้องทำให้บริษัทฯ ต้องหยุดดำเนินกิจการไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้และอาจถึงต้องขาดทุนและต้องปิดกิจการ เมื่อปรากฏว่า รัฐบาลมีวัคชีนป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 และเชิญชวนพร้อมอนุญาตให้ประชาชนรวมทั้งพนักงานของบริษัทฯ สามารถฉีดวัคซีนดังกล่าวได้ เพื่อป้องกันความเสียหายจากโรคไวรัสโควิด-19 ดังกล่าวที่จะเกิดกับพนักงานและบริษัทฯ บริษัทฯ จึงสามารถมีคำสั่งให้พนักงานไปฉีดวัคซีนดังกล่าวได้ และสามารถระบุด้วยว่า หากพนักงานผู้ใดไม่ไปฉีดวัคซีนหรือไม่รับการฉีดวัคซีน บริษัทฯ สามารถเลิกจ้างได้และผู้เขียนมีความเห็นว่า การฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของบริษัทฯ น่าจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับอันเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 (4) เพราะความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างเป็นความสัมพันธ์อันเกิดจากจากสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งลูกจ้างจะต้องพร้อมและสมบูรณ์ในเรื่องสุขภาพร่างกาย ที่จะทำงานให้กับนายจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนค่าจ้างจากนายจ้างโดยปราศจากอันตรายทั้งปวงที่จะเกิดจากลูกจ้าง การปฏิเสธฉีดวัคซีนของลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอ้างความจำเป็นใดๆ ที่เพียงพอเท่ากับเป็นการปฏิเสธหรือไม่รับปากว่าลูกจ้างจะไม่กระทำความเสียหายใดๆ ให้แก่นายจ้างของตนหากลูกจ้างติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างย่อมมีเจตนาเล็งเห็นผลได้ว่านายจ้างต้องได้รับความเสียในการบริหารกิจการเนื่องจากพนักงานภายในบริษัทฯไม่กล้าร่วมงานด้วยเพราะกลัวติดโรค ดังนั้น หากบริษัทฯ จะเลิกจ้างพนักงานกลุ่มดังกล่าวที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนตามคำสั่งของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 17 และมาตรา 118 และการเลิกจ้างพนักงานที่ไม่ฉีดวัคซีนของบริษัทฯ นั้น ถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรเพื่อป้องกันความเสียหายของบริษัทฯ ในการประกอบกิจการ ไม่ใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49 พระราชบัญญัตจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 บริษัทฯ จึงไม่ต้องรับพนักงานกลับเข้าทำงานคืนหรือไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายใดๆ ให้แก่พนักงาน


🤔🤔🤔ข้อสังเกต กรณีนี้เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างแล้วอาจหางานทำใหม่ได้ยาก เพราะ
สภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และเกิดการระบาดของเชื้อโควิด ซึ่งไม่น่าจะมีบริษัทใดกล้ารับพนักงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีน
พฤติการณ์ส่วนตัวของพนักงานดูเหมือนว่าจะเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม

เนื่องจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลแรงงาน ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ หรือศาลฎีกาตัดสินไว้ บทความนี้จึงเป็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น 

คำตอบเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่น่าสนใจสำหรับ HROD & ER
เรื่อง:-ไม่ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 นายจ้างไล่ออกได้หรือไม่ โดยทัศน์พงษ์ สกุลคู

มีเพื่อนทาง FB สอบถามปัญหากินใจมาว่า ช่วงนี้ บริษัททุกบริษัทฯ กำหนดนโยบายว่าพนักงานจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัวโควิด-19 ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นกรณีพนักงานไปฉีดด้วยตนเองแล้วนำใบรับรองแพทย์มาแสดง หรือบริษัทฯจัดให้โรงพยาบาลมาบริการฉีดวัคซีนให้ถึงโรงงาน ปัญหามีว่ามีพนักงานบางกลุ่มบางคน ไม่ประสงค์จะฉีดวัคซีนดังกล่าว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม กรณีเช่นนี้บริษัทฯจะทำการเลิกจ้างพนักงานกลุ่มดังกล่าวได้หรือไม่อย่างไร


คำตอบ กรณีตามคำถาม บริษัทฯ เป็นสถานประกอบกิจการที่มีความจำเป็นต้องทำการผลิตจำหน่าย บริการ เพื่อให้เกิดผลกำไรทางธุรกิจตามที่บริษัทฯ ได้ลงทุนประกอบกิจการไว้ ดังนั้น บริษัทจึงต้องดำเนินการทุกวิถีทางที่ถูกต้องและเป็นธรรมตามกฎหมายจัดการเพื่อให้ตนเองดำเนินธุรกิจต่อไปให้ได้ อีกทั้ง ยังต้องแบกรับภาระช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวพนักงานให้สามารถทำงานและมีรายได้ต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อมีโรคระบาดไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้น และมีประชาชนติดเชื้อเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มจะขยายจำนวนประชาชนติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากพนักงานของบริษัทติดเชื้อก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต การเจ็บป่วยและเป็นผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายของพนักงานและครอบครัว ตลอดจนถึงผู้บริหารและลูกค้าของบริษัทฯ ต่อไป จากผลกระทบดังกล่าวย่อมต้องทำให้บริษัทฯ ต้องหยุดดำเนินกิจการไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้และอาจถึงต้องขาดทุนและต้องปิดกิจการ

เมื่อปรากฏว่า รัฐบาลมีวัคชีนป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 และเชิญชวนพร้อมอนุญาตให้ประชาชนรวมทั้งพนักงานของบริษัทฯ สามารถฉีดวัคซีนดังกล่าวได้ เพื่อป้องกันความเสียหายจากโรคไวรัสโควิด-19 ดังกล่าวที่จะเกิดกับพนักงานและบริษัทฯ บริษัทฯ จึงสามารถมีคำสั่งให้พนักงานไปฉีดวัคซีนดังกล่าวได้ และสามารถระบุด้วยว่า หากพนักงานผู้ใดไม่ไปฉีดวัคซีนหรือไม่รับการฉีดวัคซีน บริษัทฯ สามารถเลิกจ้างได้และผู้เขียนมีความเห็นว่า การฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของบริษัทฯ น่าจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับอันเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 (4) เพราะความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างเป็นความสัมพันธ์อันเกิดจากจากสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งลูกจ้างจะต้องพร้อมและสมบูรณ์ในเรื่องสุขภาพร่างกาย ที่จะทำงานให้กับนายจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนค่าจ้างจากนายจ้างโดยปราศจากอันตรายทั้งปวงที่จะเกิดจากลูกจ้าง การปฏิเสธฉีดวัคซีนของลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอ้างความจำเป็นใดๆ ที่เพียงพอเท่ากับเป็นการปฏิเสธหรือไม่รับปากว่าลูกจ้างจะไม่กระทำความเสียหายใดๆ ให้แก่นายจ้างของตนหากลูกจ้างติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างย่อมมีเจตนาเล็งเห็นผลได้ว่านายจ้างต้องได้รับความเสียในการบริหารกิจการเนื่องจากพนักงานภายในบริษัทฯไม่กล้าร่วมงานด้วยเพราะกลัวติดโรค ดังนั้น หากบริษัทฯ จะเลิกจ้างพนักงานกลุ่มดังกล่าวที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนตามคำสั่งของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 17 และมาตรา 118 และการเลิกจ้างพนักงานที่ไม่ฉีดวัคซีนของบริษัทฯ นั้น ถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรเพื่อป้องกันความเสียหายของบริษัทฯ ในการประกอบกิจการ ไม่ใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 บริษัทฯ จึงไม่ต้องรับพนักงานกลับเข้าทำงานคืนหรือไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายใดๆ ให้แก่พนักงาน


🤔🤔🤔ข้อสังเกต กรณีนี้เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างแล้วอาจหางานทำใหม่ได้ยาก เพราะสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และเกิดการระบาดของเชื้อโควิด ซึ่งไม่น่าจะมีบริษัทใดกล้ารับพนักงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนพฤติการณ์ส่วนตัวของพนักงานดูเหมือนว่าจะเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม เนื่องจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลแรงงาน ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ หรือศาลฎีกาตัดสินไว้ บทความนี้จึงเป็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น 

Click to listen highlighted text!