Welcome to thatponglawyer   Click to listen highlighted text! Welcome to thatponglawyer

นายจ้างเปลี่ยนเปลี่ยนเกรดปรับค่าจ้างโบนัสจาก 3 เกรด เป็น 5 เกรดได้หรือไม่

📌นายจ้างเปลี่ยนเปลี่ยนเกรดปรับค่าจ้างโบนัสจาก 3 เกรด เป็น 5 เกรดได้หรือไม่

🔒🔒🔒คำถาม คำตอบเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่น่าสนใจสำหรับ HROD & ER ❤❤❤โดยทัศน์พงษ์ สกุลคู คนในวงการ HR มักจะพูดคุยกันและเชื่อกันเสมอมาว่าการเปลี่ยนแปลงเกรดประเมินการทำงานของพนักงานซึ่งเกรดประเมินดังกล่าวต้องถูกนำไปใช้ในการพิจารณาค่าจ้าง โบนัสประจำปีของพนักงานในแต่ละปีนั้นเป็นอำนาจการจัดการของนายจ้างหรือบริษัท (management rights) ซึ่งบริษัทหรือนายจ้างสามารถเปลี่ยนแปลงได้เลยในแต่ปีตามความเหมาะสม ความเห็นในเชิงกฎหมายแรงงาน ซึ่งนายจ้าง ลูกจ้างต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตามจะเห็นสอดคล้องกับความเห็นดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ลองพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ ดูนะครับ เดิมนายจ้างมีการพิจารณาปรับค่าจ้างและโบนัสประจำปีแบ่งเป็น 3 เกรด ต่อมาปี 2546 นายจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับฯ เพื่อพิจารณาปรับค่าจ้างและโบนัสประจำปีมาเป็น 5 เกรด โดยมีแนวความคิดที่จะกระจายเกรดให้พนักงานทุกคนได้รับการปรับค่าจ้าง โบนัส ทุกคน ไม่ให้มีใครต้องตกเกรดและงบประมาณการจ่ายของนายจ้างอาจสูงขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ซึ่งหลังจากแก้ไขแล้ว ลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่มีใครทำการโต้แย้งคัดค้าน ลูกจ้างกลับรับเอาผลการพิจารณาค่าจ้าง โบนัสประจำปีที่เปลี่ยนแปลงใหม่เป็น 5 เกรด เรื่อยมา ต่อมาลูกจ้าง (โจทก์) ได้ลาออกเมื่อปี 2562 เพื่อประกอบอาชีพส่วนตัว แต่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการ 🙏🙏🙏 พิจารณาปรับค่าจ้าง โบนัส ประจำปีตั้งแต่ปี 2546 ที่ผ่านมานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้ตนได้รับการปรับเงินจำนวนน้อยลง จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ จึงมาฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อให้นายจ้างคืนเงินส่วนต่างของค่าจ้างและโบนัสที่ขาดหายไป เมื่อเปรียบเทียบกับเกรดเดิม คดีนี้ ศาลฎีกาได้พิจารณาวินิจฉัยว่า การพิจารณาแก้ไขคู่มือข้อบังคับการประเมินผลการปฏิบัติงานและการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งสำหรับพนักงานระดับบริหารเกี่ยวกับการจัดการจ่ายเงินโบนัสและค่าปรับค่าจ้างประจำปีโดยแบ่งออกเป็น 5 เกรดจากเดิม 3 เกรดนั้น ปรากฏว่านายจ้างแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวลูกจ้างทุกคนรวมทั้งลูกจ้างที่เป็นโจทก์หาได้ทักท้วง หรือโต้แย้งคัดค้านไม่ ตรงกันข้ามกลับรับเอาผลจากการแก้ไขดังกล่าวมาปฏิบัติด้วยดี แม้การแก้ไขจะไม่เป็นคุณต่อตัวเอง ถือได้ว่าเป็นการตกลงให้แก้ไขข้อบังคับซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายแล้ว คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงานและการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งพนักงานระดับบริหารดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น เทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่ 8239/2560 ข้อพิจารณา 1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกรดจากเดิม 3 เกรดเป็น 5 เกรด เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง นายจ้างต้องยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงต่อลูกจ้างหรือได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน โดยมีหลักฐานความยินยอมเป็นหนังสือ เว้นแต่ลูกจ้างไม่คัดค้านฟ้องร้องนายจ้างโดยรับเอาผลการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานาน ซึ่งถือว่าลูกจ้างยินยอมโดยปริยาย 2. เมื่อนายจ้างเปลี่ยนแปลงเกรดตามอข้อ 1. ลูกจ้างอาจแสดงความไม่ยินยอมโดยการทำหนังสือคัดค้านทันที หรือฟ้องร้องต่อศาลทันที ซึ่งไม่ควรทิ้งระยะเวลาเนิ่นนานเกินไปอันอาจถูกมองได้ว่าลูกจ้างยอมรับโดยปริยายตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาไว้

📌References

https://thatponglawyer.com/event/

Click to listen highlighted text!