Welcome to thatponglawyer   Click to listen highlighted text! Welcome to thatponglawyer

มาทำงานไม่ทัน ฝากลงเวลาลงชื่อมาทำงานแทนร้ายแรงหรือไม่

📌มาทำงานไม่ทัน ฝากลงเวลาลงชื่อมาทำงานแทนร้ายแรงหรือไม่

1.การลงชื่อหรือลงเวลามาทำงานแทนกันของพนักงานจะมีผลดีต่อพนักงานด้วยกันและองค์กรมากกว่าการเคร่งครัดบังคับให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบวินัยโดยต้องลงชื่อเวลามาทำงานด้วยตนเองหรือไม่ ??? ปัญหาข้อนี้<<ไม่ได้มีความแตกต่าง>>จากปัญหาที่เกิดกับ<<ประเทศของเรา>>ในขณะปัจจุบันนี้เท่าใดนักเราจะเห็นได้ว่า<<วิถีชีวิตของคนไทย>>มักจะมองการปฏิบัติตามกฏระเบียบเป็นเรื่อง<<ล้าสมัย>>> โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<<การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าๆ>>ที่ผ่านมายิ่งดูเป็นเรื่อง<<น่าเบื่อหน่าย>>และเเทบที่จะรับกันไม่ได้แล้ว <<ไทยยุคใหม่ต้องทันต่อหตุการณ์>>อย่ายึดติดกับรูปแบบระเบียบวินัยมากนักมันไม่ innovation <<ต้องปล่อยให้มีอิสระทางความคิด>>อย่าล้อมกรอบด้วยกฏกติกาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม<<ให้ดูที่ผลงานสุดท้ายว่าเจ๋งพอหรือไม่ก็เพียงพอแล้ว>> แนวความคิดเช่นนี้<<ลุกลามไปทั่วทั้งในการดำเนินชีวิตในสังคมร่วมกัน>> การเรียน การสอน ตลอดจนการปฏิบัติงานในองค์กรเช่น <<การไม่ปฏิบัติตามกฏจราจร>> หรือแม้แต่กฏหมายอาญาอื่นๆของประชาชนจน<<บ้านเมืองสับสนวุ่นวาย>>เกิดอุบัติเหตุและการรังแกกันอย่างไร้ขอบเขต การแข่งกันเรียนแข่งกันสอนโดย<<ไม่สนใจวิธีการ>>และการได้มาซึ่งความรู้และการถ่ายทอดความรู้ <<มุ่งต่อผลอย่างเดียว>>คือเกรดการเรียนที่ดีขึ้นและรางวัลที่ได้รับจากการเรียนการสอนโดย<<ไม่สนใจว่าผู้เรียนผู้สอนจะสัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง>>โดยทำให้ผู้เรียนผู้สอนมีความรู้มากขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติงานและสร้างประโยชน์ต่อตนเอง สังคม ประเทศชาติได้หรือไม่ <<ในการปฏิบัติงาน>>พนักงานก็<<มุ่งประสงค์แต่ผลงาน>>ที่ได้รับเอาเป็นการส่วนตัว หรือในเชิงปริมาณ<<ไม่สนใจวิธีการคุณภาพและประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับอย่างยั่งยืน>> ในแง่ของทฤษฏีพัฒนาคนพัฒนาองค์กรคงปฏิเสธไม่ได้ว่า<<องค์กรต้องการให้พนักงาน engage กับงาน>>เพื่อให้พนักงานทุ่มเทกับงานเพื่อให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยลดการขาด สาย ลา ป่วย และ<<องค์กรยังต้องการให้พนักงานมี commitment ต่อองค์กร>>เพื่อเป็นการลดอัตราการ turn over ของพนักงานลง แต่องค์กรหรือ HRD ส่วนใหญ่มัก<<แก้ปัญหาดังกล่าวในเชิงบวก>>เช่นการจูงใจพนักงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง สวัสดิการฯลฯจนเลยเถิดมาจนถึงการเอาอกเอาใจด้วย<<การปล่อยให้มีอิสระในการทำงาน สามารถมาทำงานสาย กลับก่อนเวลาได้>> จนองค์กรบางแห่ง หละหลวมถึงขนาดปล่อยปละให้พนักงานลงเวลามาทำงานแทนกันได้ ลาหยุดงานแทนกันได้ ในหน่วยงานหนึ่งๆ<<เมื่อต่างคนต่างมีอิสระสามารถฝากลงเวลาแทนกันได้ทุกคน>>ในระยะเวลาเริ่มต้นหรือในระยะเวลาสั้นๆเมื่อเริ่มต้นทำงานของพนักงาน ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งจูงใจให้พนักงาน engage กับงานและ commitment กับองค์กรได้แต่ในระยะยาวดูเหมือนว่าการให้อิสระแก่พนักงานในการลงเวลามาทำงานแทนกันได้<<กลับกลายเป็นตัวทำลาย การ engage กับงานของพนักงานและการมี commitment กับองค์กรของพนักงานไปเสียแล้ว>> เพราะใครล่ะครับอยากจะ engage กับงานในเมื่อ<<ต้องทำงานหนักขึ้นแทนคนที่าทำงานสายหรือขาดงาน>>ในการประชุมกำหนดแผนงานก็ติดขัดเนื่องจากผู้เข้าร่วมประชุมมาไม่ครบหรือมาไม่ทันเวลาต้องเสียเวลาในการจัดประชุมใหม่หรือถ่ายทอดสิ่งที่ได้ประชุมให้แก่ผู้ที่มาสายหรือขาดงาน แม้แต่<<การประเมินผลงานปรับค่าจ้าง โบนัสตลอดจนการ promote ตำแหน่งงานก็จะติดขัด>>ตามไปด้วย องค์กรจะอ้างว่าไม่ปรับค่าจ้าง bonus หรือ promote ตำแหน่งงานให้แก่พนักงานที่มาสายหรือขาดงานก็คงไม่ได้เพราะองค์กรเองเป็นผู้อนุญาติหรือเป็นผู้ปล่อยปละละเลยให้พนักงานดังกล่าวและพนักงานทุกๆคนในหน่วยงานสามารถลงเวลาแทนกันได้ พนักงานที่ขยันมาทำงานทุกวันคงต้องไม่พอใจ <<แม้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในองค์กรจะกำหนดให้สามารถลงโทษ>>ผู้ที่ทำงานสายหรือขาดงานรวมตลอดจนถึงพนักงานที่ลงชื่อมาทำงานแทนพนักงานอื่นได้ก็ตามแต่<<องค์กรได้สูญเสียอำนาจการลงโทษนั้นไปเสียแล้ว>>โดยไม่สามารถลงโทษพนักงานดังกล่าวได้อีกเลยเพราะทางกฏหมายแรงงานถือว่าการที่องค์กรปล่อยปละละเลยเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าองค์กร<<ไม่เคร่งครัด>>ตามระเบียบข้อบังคับ แม้พนักงานจะปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับก็ตามดังนั้นองค์กรจึงไม่สามารถลงโทษพนักงานได้เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2223/2529 2. หากองค์กรจะลงโทษพนักงานที่ลงชื่อลงเวลาทำงานแทนกันจะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงได้หรือไม่อย่างไร??? เมื่อปรากฏว่าองค์กรกำหนดระเบียบวินัยว่า ก. ให้พนักงานต้องบันทึกเวลาเข้าทำงานและเลิกงานด้วยตนเองทุกครั้ง ห้ามบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือรู้เห็นเป็นใจให้ผู้อื่นบันทึกเวลาให้ ข. หากพนักงานขาดงาน บริษัทจะไม่จ่ายค่าจ้างตามจำนวนที่ขาดงาน ดังนั้นเมื่อพนักงานออกจากองค์กรไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่เวลา 13.00 น. ซึ่งเป็นเวลาทำงานของพนักงานโดยไม่กลับเข้ามาทำงานอีกเลยจนถึงเวลาเลิกงานเมื่อเวลา 17.00 น. การกระทำของพนักงานจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่ ตั้งแต่เวลา 13.00 – 17.00 น. การที่พนักงานให้พนักงานอื่นลงเวลาเลิกงานแทนให้ จึงเป็นการลงเวลาที่ผิดจากความเป็นจริงโดยไม่ได้ทำงานจริงเป็นเวลาถึงประมาน 4 ชั่วโมง การลงเวลาดังกล่าวนอกจากจะ<<เป็นหลักฐานแสดงระยะเวลาทำงาน>>แล้วยัง<<เป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายค่าจ้าง>>อีกด้วย แม้องค์กรจะจ่ายค่าจ้างในช่วงระยะเวลาดังกล่าวให้กับพนักงานโดยไม่ทำการยับยั้ง การกระทำของพนักงานก็<<ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่>><<ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน>>ขององค์กร<<เป็นกรณีร้ายแรง>>องค์กร<<สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย>>เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 1076/2541 ❤️❤️❤️(ข้อพิจารณา:- อย่างไรก็ตามหากองค์กร<<ปล่อยปละละเลยให้พนักงานลงชื่อแทนกันได้>>โดย<<ไม่เคยเลิกจ้างพนักงานตามระเบียบที่กำหนดไว้>> ต่อมาภายหลังเมื่อพนักงานกระทำผิดอีก องค์กรจะนำระเบียบดังกล่าวมา<<เลิกจ้างพนักงานไม่ได้แล้ว>>เพราะถือว่าองค์กร<<ไม่เคร่งครัด>>ตามระเบียบข้อบังคับของตนเองแล้วเทียบเคียงคำพิพากษาศาลฏีกาที่2223/2529

Click to listen highlighted text!